เมนู

2. อารัมมณปัจจัย


[429] 1. สัญโญชนธรรมเป็นปัจจัยแก่สัญโญชนธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ เพราะปรารภสัญโญชนธรรมทั้งหลาย สัญโญชนธรรมทั้งหลาย
ย่อมเกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล (วาระที่ 2)
เพราะปรารภสัญโญชนธรรมทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่สัญโญชน-
ธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล (วาระที่ 3)
เพราะปรารภสัญโญชนธรรมทั้งหลาย สัญโญชนธรรมและสัมปยุตต-
ขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
4. ธรรมที่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรม ฯลฯ แล้ว
พิจารณากุศลกรรมนั้น.
บุคคลพิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.
บุคคลออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน.
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค, ผล ฯลฯ
พิจารณานิพพาน.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล, แก่
อาวัชชนะ.

พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม
กิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ ในกาลก่อน ฯลฯ
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่
สัญโญชนธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ, ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม
ด้วยเจโตปริยญาณ.
อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ, ฯลฯ อากิญ-
จัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่
เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่
อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
5. ธรรมที่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม เป็นปัจจัยแก่
สัญโญชนธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือบุคคลให้ทานแล้ว ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ พิจารณา
กุศลกรรมที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌานแล้ว ฯลฯ
บุคคลพิจารณาซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่สัญโญ-
ชนธรรม ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภซึ่งจักษุเป็นต้นนั้น
ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

6. ธรรมที่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม เป็นปัจจัยแก่
สัญโญชนธรรม และธรรมที่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย

คือบุคคลให้ทานแล้ว ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ พิจารณา
กุศลกรรมที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌานแล้ว ฯลฯ
บุคคลพิจารณาซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่สัญโญ-
ชนธรรม ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น
สัญโญชนธรรม และขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
7. สัญโญชนธรรม และธรรมที่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม
เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
มี 3 วาระ
(วาระที่ 7-8-9) พึงกระทำว่า เพราะปรารภนั่นเทียว.

3. อธิปติปัจจัย


[430] 1. สัญโญชนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
กระทำสัญโญชนธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ มีการกระ-
ทำให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นทั้ง 3 วาระ (วาระที่ 1-3)
4. ธรรมที่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่สัญโญชนธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย